วันจันทร์ที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2555

การเลี้ยงปลาทอง



การเลี้ยงปลาทอง
1.ปลาทอง
ปลาเป็นสัตว์ที่ต้องอาศัยอยู่ในน้ำเท่านั้น โดยพบได้ทั้งแหล่งน้ำจืด, น้ำกร่อย และน้ำเค็ม แต่พบได้ในภูมิประเทศที่หลากหลายแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง ตั้งแต่ลำธารเชิงเทือกเขาหิมาลัยที่สูงกว่า 4,000 เมตรจากระดับน้ำทะเล, ในถ้ำที่มืดมิดไร้แสง จนถึงแม่น้ำ หนองบึงต่าง ๆ ทะเลสาบบนปากปล่องภูเขาไฟ จนมาถึงชายฝั่งทะเลไหล่ทวีป จนถึงใต้ทะเลที่ลึกกว่าหมื่นเมตร แสงไม่อาจส่องไปได้ถึง
ซึ่งปลาจะปรับรูปร่างและพฤติกรรมให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยที่แตกต่างกัน เช่น ปลาอะโรวาน่า หรือปลาเสือพ่นน้ำ ที่เป็นปลาที่หากินอยู่บริเวณผิวน้ำ ก็จะมีลักษณะปากที่เฉียงขึ้นด้านบนเพื่อถนัดในการจับแมลงเป็นอาหาร ขณะที่ปลากระเบน ซึ่งเป็นปลาหากินบริเวณพื้นน้ำ ก็จะมีปากอยู่บริเวณด้านล่างลำตัวจะมีฟันเป็นแบบแทะเล็ม หรือกลุ่มปลาทูน่า จะมีสีบริเวณหลังเป็นสีคล้ำ แต่ขณะที่ด้านท้องจะเป็นสีจางอ่อน เพื่อใช้สำหรับพรางตาเมื่อมองจากบนผิวน้ำและใต้น้ำให้พ้นจากนักล่า

2.ชนิดพันธุ์
              ปลาทอง ชื่อวิทยาศาสตร์ Carassius auratus เป็นปลาที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศจีนและญี่ปุ่น ต่อมาถูกนำไปเลี้ยงในยุโรปเมื่อศตวรรษที่17และถูกนำไปเผยแพร่ ในอเริกาในศตวรรษที่ 19 ชาวจีน และชาวญี่ปุ่นนับเป็นชนชาติแรก ที่รู้จักวิธีการผสมพันธุ์ปลาทอง แต่ละสายพันธุ์ยังถูกแยกออกไปอีก เป็น อีกหลายพันธุ์ ตามสี ตามลักษณะหาง หัว ซึ่งปัจจุบัน ถูกผสมข้ามสายพันธุ์ มีลักษณะแตกต่างกันออกไป
              ทองออแรนดา (Oranda goldfish) แหล่งกำเนิด ประเทศจีน ปลาทองออแรนดาเป็นปลาที่มีช่วงลำตัวยาว ครีบทุกครีบยาว โดยเฉพาะครีบหาง เป็นครีบที่ยาว เป็นพวง สวยงาม บริเวณหัวอาจจะมีวุ้นหรือไม่มีก็ได้ เป็นปลาที่สามารถเจริญเติบโต มีขนาดใหญ่กว่าปลาทอง ชนิดอื่น ปลาชนิดนี้เลี้ยงง่ายเป็นที่รู้จักกันทั่วไป กินอาหารจำพวกลูกน้ำ,ไร, อาหารเม็ด สามารถเลี้ยงรวมกันกับปลาทองชนิดอื่นได้
               ทองเกล็ดแก้ว (Pearl scale GoldFish) แหล่งกำเนิด ประเทศจีนปลาทองเกล็ดแก้วมีลักษณะเด่นที่มีลำตัว สั้นป้อม ส่วนมากจะกลม เกล็ดจะหนานูนขึ้น แตกต่างจาก ปลาทองพันธุ์อื่น ๆ ตรงส่วนหัวอาจจะมี หรือ ไม่มีวุ้น ก็ได้ ปลาทองชนิดนี้เป็นปลาที่ต้องการ การเอาใจใส่ เป็นพิเศษ เพราะเป็นปลาที่ค่อนข้าง จะบอบบาง กินอาหารง่าย ไม่ควรเลี้ยงรวมกับปลาชนิดอื่น

               ทองหัวสิงห์ (Lion head goldfish) แหล่งกำเนิด ประเทศจีนปลาทองหัวสิงห์เป็นปลาทองชนิดที่ ได้รับความนิยมมากในหมู่ผู้เลี้ยงปลา เพราะมีลักษณะที่น่ารัก ลำตัวกลม ไม่มีครีบหลัง มีอยู่ 2 สายพันธ์ คือ สิงห์จีน และสิงห์ญี่ปุ่น ความแตกต่างสิงห์จีนจะหัวใหญ่ มีวุ้นหนา ลำตัวยาว ส่วนสิงห์ญี่ปุ่นจะมีส่วนหัว ที่เล็กกว่า ส่วนใหญ่ไม่มีวุ้น ลำตัวสั้น หลังจะโค้งมน หางสั้น และเชิดขึ้น ดูสง่างาม ปลาทองหัวสิงห์ เป็นปลาที่เลี้ยงง่าย กินลูกน้ำ ไรแดง ไข่ การเลี้ยงปลาชนิดนี้ ให้ได้ดี ควรเลี้ยงในอ่างตื่นๆ ลึกไม่เกิน 8 นิ้ว


 
               ริวกิ้น (Veiltail goldfish) ปลาทองริสกิ้นเป็นปลาที่ได้รับความนิยมจากผู้ที่เลี้ยงปลา เนื่องจาก มีรูปทรง ที่สวยงาม ลำตัวป้อมสั้น ท้องใหญ่ หางยาวเป็นพวง ส่วนหัวสูงลำตัวเป็นสีส้ม หรือส้มแดงปนขาว เวลาว่ายน้ำจะเป็นท่วงท่า ที่ สง่างาม ปลาชนิดนี้มีทั้งที่สั่งมาจากประเทศญี่ปุ่น และเพาะพันธุ์ขึ้นเอง ในประเทศไทย ตู้ที่เลี้ยงปลา ชนิด นี้ ต้องเป็นตู้ที่มีน้ำใสสะอาด ไม่ควรให้เย็นเกินไป ปลาชนิดนี้ ชอบกินอาหารพวกลูกน้ำ,อาหารสำเร็จรูป

                ชูบุงกิง (Shubunkin goldfish) ปลาทองชุงบุงกิง หรือตลาดค้าปลาสวยงามเรียกว่า ชูบานกิ้น เป็นปลาทองที่มีลักษณะเด่น ที่มีครีบหาง เดี่ยว แยกเป็นสองแฉก ลำตัวเรียวยาว ลำตัวส่วนมากมีสีส้ม ส้มแดง แดงขาว อาจจะมีสีดำประบ้าง ปลาทอง ชนิดนี้เลี้ยงง่าย เป็นปลาที่มีความทนทานมาก กินอาหาร เก่ง กินได้แทบทุกประเภท ปลาทองชนิดนี้ จึงเป็นที่นิยมเลี้ยงกันอีกชนิดหนึ่ง เป็นปลาที่กินอาหารง่าย ชอบพวก ลูกน้ำ ไร และอาหารสำเร็จรูป

                 ทองเล่ห์ หรือ ลักเล่ห์ (speckled goldfish) แหล่งกำเนิด ประเทศจีนปลาทองเล่ห์เป็นปลาที่มีลักษณะ เด่นที่มีลำตัวเป็นสีดำสนิทแม้กระทั้งครีบทุกครีบ ปลาชนิดนี้นับว่า เป็นที่ นิยมเลี้ยงกันพอสมควร เป็น ปลาที่มีตาโปนออกมา ครีบหางบานใหญ่ บางชนิดมีชื่อเรียกว่า เลห์ตุ๊กตา หรือ เล่ห์หางผีเสื้อ เนื่องจาก ครีบหางที่แผ่คล้ายกับผีเสื้อ จัดว่าเป็นปลาที่ว่ายน้ำได้สวยงาม น่ารัก เป็นปลาที่เลี้ยง ง่าย ชอบอาหาร พวกลูกน้ำ ไรแดง หนอนแดง และอาหารสำเร็จรูป สามารถเลี้ยงรวมกับปลาชนิดอื่นได้


                  ทองตาลูกโป่ง ( Buble eye gold fish) แหล่งกำเนิด ประเทศจีนปลาทองตาลูกโป่งเป็นปลาที่มีลักษณะเด่น เป็นที่สังเกตได้ง่ายตรงที่มีตาใหญ่คล้ายลูกโป่ง ทำให้ปลา ชนิดนี้เป็นที่รู้จักกันดี ปลาชนิดนี้ปกติจะไม่มี ครีบหลัง การที่มีตาขนาดใหญ่ทำให้ว่ายน้ำได้เชื่องช้า คนส่วนใหญ่ชอบซื้อปลาที่มีขนาดตาทั้ง 2 ข้าง เสมอกัน การเลี้ยงปลาชนิดนี้ต้องเอาใจใส่เป็นพิเศษ เพราะเป็นปลาที่ค่อนข้างจะบอบบางมีจุดอ่อนที่ตา ไม่ควรเลี้ยงรวมกับปลาดุร้ายอื่น ๆ กินลูกน้ำ ไร และอาหารสำเร็จรูป








3.อาหารปลาทอง

 อาหารธรรมชาติ ถึงแม้ปลาทองจะเป็นปลาที่กินได้ทั้งพืชและสัตว์เป็นอาหาร (Omnivorous)แต่ในธรรมชาติชอบกินอาหารพวกลูกน้ำ ไรแดง (Moina) ไรสีน้ำตาล (Artemia) หนอนแดง และไส้เดือนน้ำ      อาหารมีชีวิตเหล่านี้มีคุณค่าทางอาหารสูงทำให้ปลาโตเร็วมีความสมบูรณ์ทางเพศดีเหมาะสมต่อการเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ปลาทอง โดยให้วันละ 2-3 ครั้ง   อาหารธรรมชาติจะให้ในสภาพที่มีชีวิตหรือตายแล้วก็ได้ หากเป็นอาหารที่ตายแล้วต้องให้ปริมาณที่พอเหมาะ ถ้ามีอาหารเหลือต้องรีบดูดทิ้งทันที เนื่องจากอาหารที่เหลือจะทำให้น้ำเน่าเสียและเกิดโรคได้ ปัจจุบันเกษตรกรในจังหวัดนครปฐมและราชบุรีได้เพาะเลี้ยงปลาทองโดยใช้หนอนแมลงวันหรือหนอนขี้หมูขาว ซึ่งเกิดในบริเวณเล้าหมู เรียกว่า หนอนขี้หม   ู นำมาเลี้ยงปลาใช้เป็นอาหารปลาทองขนาดอายุ 1-2 เดือนขึ้นไป แต่ในการเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ปลาควรระวังอย่าให้กินหนอนขี้หมูมาก เพราะจะทำให้ปลาอ้วนเกินไปซึ่งมีผลทำให้ปริมาณไข่ที่ออกน้อย
            ข้อควรระวัง ก่อนนำหนอนขี้หมูมาเป็นอาหารจะต้องนำมาล้างน้ำให้สะอาดและแช่ด่างทับทิมใน
อัตราส่วน 2-3 กรัม/น้ำ 1,000 ลิตร หรือต้มเพื่อป้องกันเชื้อโรคอาหารสำเร็จรูป ได้แก่ อาหารเม็ดขนาดเล็กเป็นอาหารที่เหมาะสำหรับการเลี้ยงปลาทอง   และควรเลือกอาหารที่มีเปอร์เซ็นต์โปรตีนสูงจะทำให้ปลาเจริญเติบโตดีและมีสีสันสวยงามโดยทั่วไปส่วนประกอบของอาหารสำเร็จรูปควรประกอบด้วย โปรตีน 40% คาร์โบไฮเดรต 44%   ไขมัน10% วิตามินและแร่ธาตุ 6%  ส่วนประกอบของอาหารที่มีปริมาณโปรตีนต่ำจะทำให้ปลาโตช้าหรือชะงักการเจริญเติบโต
และมีความสมบูรณ์ทางเพศน้อยหรือถ้าอาหารมีปริมาณโปรตีนมากเกินไป ปลาก็จะขับถ่ายของเสียออกมามากทำให้น้ำมีปริมาณแอมโมเนียสูงซึ่งเป็นพิษต่อปลา   : ลูกปลาขนาดเล็ก (ต่ำกว่า 1 นิ้ว) มีความต้องการโปรตีน ประมาณ 60 - 80% เพื่อการเจริญเติบโต   : ปลาวัยรุ่นจะมีความต้องการโปรตีนประมาณ 40 - 60% เพื่อให้เกิดความสมบูรณ์ทางเพศทำให้ ไข่พัฒนา  : ปลาเต็มวัยจะมีความต้องการโปรตีนประมาณ 30 - 40%  การให้อาหาร ควรให้วันละ 3 -5 % ของน้ำหนักปลา เช่น ปลาทั้งหมด น้ำหนัก 500 กรัม จะให้อาหารเม็ดวันละ 15 - 25 กรัม โดยแบ่งให้เช้าเย็นหรือจะใช้อาหารผสมแทน โดยใช้อาหารที่มีส่วนผสมของปลาป่น รำละเอียด กากถั่วป่น วิตามินและแร่ธาตุซึ่งกำหนดให้มีปริมาณโปรตีนไม่ต่ำกว่า40%อาหารสำเร็จรูปมีข้อดีกว่าอาหารธรรมชาติหลายประการได้แก่ สามารถควบคุมคุณภาพให้เป็นไปตามมาตรฐาน ความสม่ำเสมอและความคงทนในขณะที่ละลายน้ำ แต่อาหารสำเร็จรูปจะทำให้น้ำเสียง่าย ขนาดของอาหารสำเร็จรูปสามารถปรับให้เข้ากับการเจริญเติบโตของลูกปลา    เมื่อปลามี
ขนาดใหญ่สามารถ ปรับขนาดได้ ขนาด วัสดุอาหารและกลิ่นของอาหารเป็นปัจจัยสำคัญในการทำอาหาร



4.การเลี้ยงปลาทอง

      

  ปลาทอง เป็นปลาสวยงามอันดับต้น ๆ ที่ได้รับความนิยมเลี้ยงกันอย่างกว้างขวาง เพราะสวยงามและดูมีชีวิตชีวา แถมชื่อยังเป็นมงคลอีกด้วย นักเลี้ยงปลาทั้งมืออาชีพและมือสมัครเล่น จึงเลือกเลี้ยงเจ้าปลาชนิดนี้ไว้ดูเล่นกันเป็นจำนวนมาก 

          แม้ว่าปลาทอง จะเป็นปลาสวยงามที่เลี้ยงไม่ยาก แต่หลายต่อหลายคนก็อกหักจากการเลี้ยงปลาทองมาแล้วไม่น้อย เนื่องจากปลาทองจัดเป็นปลาที่ตายได้ง่าย ๆ หากไม่รู้วิธีการเลี้ยงอย่างถูกต้อง และวันนี้เรามีคำแนะนำดี ๆ ในการเลี้ยงมาฝากกัน

          ก่อนอื่นมาทำความรู้จักปลาทองที่ได้รับความนิยมเลี้ยงในไทย แบ่งออกเป็น 2 สายพันธุ์คือ  

          1.ปลาทองพันธุ์หัวสิงห์ มีลักษณะเด่นบริเวณหัว ที่จะมีก้อนเนื้อหุ้มอยู่คล้ายสวมหัวโขน

          2.ปลาทองพันธุ์ออรันดา ลำตัวค่อนข้างยาว ครีบหางอ่อนช้อยเป็นพวงสวยงาม

 4.1.ภาชนะที่ใช้เลี้ยง


          ในการเลี้ยงปลาทองให้สุขภาพแข็งแรง และมีสีสันสดใส จำเป็นต้องใส่ใจรายละเอียดตั้งแต่สถานที่เลี้ยง และภาชนะที่ใช้เลี้ยง โดยทั่วไปนิยมเลี้ยงในตู้กระจกใส และอ่างซีเมนต์ หากเลี้ยงในตู้กระจกควรเลือกขนาดที่มีความจุของน้ำอย่างน้อย 40 ลิตร ใช้เลี้ยงปลาทองได้ 12 ตัว แต่ถ้าเลี้ยงในอ่างซีเมนต์ ต้องคำนึงถึงแสงสว่าง ควรเป็นสถานที่ไม่อับแสง และแสงไม่จ้าจนเกินไป ทั้งนี้ ควรใช้ตาข่ายพรางแสง ประมาณ 60% ปิดปากบ่อ ส่วนสภาพของบ่อเลี้ยงควรสร้างให้ลาดเอียง เพื่อความสะดวกในการเปลี่ยนถ่ายน้ำ 

 4.2.การให้อาหาร


          แนะนำว่าควรให้อาหารสำเร็จรูป วันละ 1-2 ครั้ง โดยการให้แต่ละครั้งไม่ควรมากจนเกินไป เพราะจะทำให้ปลาทองอ้วน และเสี่ยงตายได้ เนื่องจากปลาทองค่อนข้างกินจุ ดังนั้นอย่าตามใจปากปลาทอง ส่วนอาหารเสริมอย่างลูกน้ำและหนอนแดง สามารถให้เสริมได้โดยดูความอ้วนและความแข็งแรงของตัวปลา ลักษณะปลาที่ตัวใหญ่หรืออ้วน สังเกตได้จากบริเวณโคนหางจะใหญ่แข็งแรงและมีความสมดุลกับตัวปลา และเมื่อมองจากมุมด้านบนจะสังเกตเห็นความกว้างของลำตัวอ้วนหนาและบึกบึน ขณะที่สีบนตัวปลาจะต้องมีสีสดเข้ม 

 4.3.คุณภาพของน้ำ


 

          น้ำเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุด น้ำประปาที่ใช้เลี้ยงต้องระวังคลอรีน ควรเตรียมน้ำก่อนนำมาใช้เลี้ยงปลาทุกครั้ง โดยเปิดน้ำใส่ถังเปิดฝาวางตากแดดทิ้งไว้เพื่อให้คลอรีนระเหย หรืออาจติดตั้งเครื่องกรองน้ำใช้สารเคมีโซเดียมไธโอซัลเฟตละลายลงในน้ำ มีคุณสมบัติในการกำจัดคลอรีน แต่ควรดูสัดส่วนในการใช้ เพราะสารเคมีพวกนี้มีผลข้างเคียงต่อปลาหากใช้ไม่ถูกวิธี  

 4.4.อากาศหรือออกซิเจนในน้ำ 


 

          ปลาทองส่วนใหญ่เคยชินกับสภาพน้ำที่ต้องมีออกซินเจน ดังนั้น อย่างน้อยในภาชนะเลี้ยงต้องมีการหมุนเวียนเบา ๆ ไม่ว่าจะผ่านระบบกรองน้ำ น้ำพุ น้ำตก หรือปั๊มน้ำ เพราะการหมุนเวียนของน้ำ เป็นการทำให้เกิดการเติมออกซิเจน และปลาทองขนาดใหญ่ย่อมต้องการออกซิเจนมากกว่าปลาเล็ก ส่วนเรื่องอุณหภูมิของน้ำที่เหมาะสมคือ 28-35 องศาเซลเซียส แต่สิ่งสำคัญที่สุดคือการรักษาอุณหภูมิของน้ำไม่ให้เปลี่ยนแปลงขึ้น-ลงอย่างรวดเร็ว หากซื้อปลาบรรจุถุงมา เวลาจะปล่อยปลาลงในอ่างเลี้ยง ควรแช่ถุงลงในอ่างเลี้ยง 10-15 นาที เพื่อให้อุณหภูมิของน้ำในถุงกับในอ่างถ่ายเทเข้าหากันจนใกล้เคียงกัน แล้วค่อยปล่อยปลาลงไป



5.การเลี้ยงปลาทองและการเพาะพันธุ์ปลาทอง




      ในช่วงหน้าฝนเป็นช่วงเวลาที่ปลาทองจะผสมพันธุ์วางไข่ก่อนหรือหลังระยะดังกล่าวก็อาจเพาะพันธุ์
ได้บ้างแต่เป็นส่วนน้อยปลาทองจะถึงวัยเจริญพันธุ์เมื่ออายุ 4-6 month แต่ช่วงที่เหมาะสมคืออาย
7-8 month และจะวางไข่ไปเรื่อย ๆ จนอายุ 6-7 year แต่เนื่องจากเมืองไทยเป็นเมืองร้อนปลาสามารถ
วางไข่ได้เป็นระยะเวลาหลายmonthใน 1 year จึงทำให้อายุใช้งานของพ่อแม่พันธุ์น้อยลงคือประมาณ 2 yearผู้เลี้ยงก็จะต้องหาพ่อแม่พันธุ์ใหม่
       การเลี้ยงปลาทองและการเพาะพันธุ์ปลาทองอาจเพาะพันธุ์ได้ในตู้กระจก บ่อซีเมนต์กลมขนาดเล็กเส้นผ่าศูนย์กลางตั้งแต่
80 cm หรือใช้บ่อสี่เหลี่ยมขนาด 1 ตารางเมตรขึ้นไป หลังจากทำความสะอาดบ่อหรือภาชนะ
เรียบร้อยแล้วให้เติมน้ำสะอาดที่ปราศจากคลอรีน (อุณหภูมิของน้ำควรอยู่ในช่วง 25 - 28  c)
ให้ระดับน้ำสูงประมาณ 20-30 cm และควรใส่สาหร่ายหรือผักตบชวาโดยนำมาแช่ด่างทับทิม
ก่อนหรือใช้เชือกฟาง นำเชือกฟางมามัดแล้วฉีกเป็นเส้นฝอยใส่ลงในบ่อเพื่อให้ไข่เกาะ เพราะไข่ของปลาทองเป็นประเภทไข่ติด หรืออาจจะเพาะในกะละมัง ซึ่งวิธีนี้ไม่ต้องใส่เชือกฟางให้ไข่เกาะ เพราะไข่จะเกาะติดกับกะละมังที่ใช้เพาะฟักการเลี้ยงปลาทองและการเพาะพันธุ์ปลาทองสามารถเพาะพันธุ์โดยวิธีเลียนแบบธรรมชาติ หรือโดยวิธีผสมเทียม ดังนี้

          การเพาะพันธุ์โดยวิธีเลียนแบบธรรมชาติ เป็นวิธีการเลี้ยงปลาทองและการเพาะพันธุ์ปลาทองแบบง่ายและประหยัด บ่อหรือภาชนะที่มีขนาดประมาณ 1 ตารางเมตร เป็นขนาดที่เหมาะสมที่สุดและควรปล่อยพ่อแม่ปลาเพียง 4-6
ตัว/บ่อ โดยนำพ่อแม่พันธุ์ที่มีความสมบูรณ์พร้อมผสมพันธุ์ที่คัดไว้เรียบร้อยแล้วมาใส่ในบ่อเพาะ ในอัตราส่วนตัวผู้ : ตัวเมีย เท่ากับ 1 : 1 หรือ 2 : 1 ขึ้นกับปริมาณน้ำเชื้อของตัวผู้และความสมบูรณ์เพศของแม่พันธุ์ปลาตัวผู้จะเริ่มไล่ปลาตัวเมียโดยใช้ปากดุนที่ท้องปลาตัวเมียเพื่อกระตุ้นให้วางไข่ ตัวเมียปล่อยไข่เป็นระยะ ๆขณะเดียวกันตัวผู้จะปล่อยน้ำเชื้อเข้าผสมกับไข่ ไข่ก็จะกระจายติดกับสาหร่าย ผักตบชวาหรือเชือกฟางที่อยู่ไว้ในบ่อ
       เนื่องจากไข่มีลักษณะเป็นเมือกเหนียวช่วยในการยึดเกาะได้ระยะเวลาในการผสมพันธุ์ อาจใช้เวลาถึง3ชั่วโมง ปลาจึงวางไข่หมด แม่ปลาวางไข่ครั้งละ 500-5000 ฟอง โดยปริมาณไข่จะขึ้นกับขนาดของแม่ปลา ปลาตัวเล็กปริมาณไข่ก็จะน้อย ภายหลังจากที่ปลาผสมพันธุ์กันแล้ว จะสังเกตเห็นน้ำในบ่อเพาะพันธุ์มีลักษณะเป็นฟองคล้ายมีเมือกผสมอยู่ในน้ำหรือสามารถตรวจสอบอย่างง่าย ๆก็คือ หลังจากที่ใส่รังเทียมในตอนเย็นจะสามารถตรวจสอบการวางไข่ในตอนเช้า หลังจากที่แม่ปลาวางไข่แล้ว ควรแยกพ่อแม่ออกไปเลี้ยงในบ่ออื่น หรือจะเก็บรังเทียมไปฟักในบ่ออื่นก็ได้ แต่วิธีนี้ไข่อาจติดอยู่บริเวณขอบหรือพื้นก้นบ่อยากแก่การรวบรวม โดยปกติแม่ปลาทองจะวางไข่มากในช่วงmonth เมษายน - ตุลาคม
        หลังจากปลาผสมพันธุ์แล้ว พ่อแม่ปลาจะไม่สนใจกับไข่ปลา และบางครั้งอาจกินไข่ด้วย ดังนั้นจึงจำเป็นต้องแยกพ่อแม่ปลาออกทันที


6.การเพาะพันธุ์โดยวิธีผสมเทียม




       การเพาะพันธุ์โดยวิธีผสมเทียมจะทำให้อัตราการผสมไข่และน้ำเชื้อสูงมากมีอัตราการฟักไข่สูงกว่าการเพาะพันธุ์โดยวิธีธรรมชาติแต่ขั้นตอนจะยุ่งยากกว่าหลังจากที่เตรียมอ่างเพาะหรือบ่อเพาะปลาแล้วให้ตรวจความพร้อมของแม่ปลา สำหรับแม่ปลาจะต้องมีท้องนิ่มพร้อมที่จะวางไข่การผสมพันธุ์โดยวิธีนี้ควรทำตอนเช้ามืดใกล้สว่าง ซึ่งเป็นเวลาที่ปลาชอบผสมพันธุ์กันเอง โดยใช้ปลาตัวผู้ : ปลาตัวเมียในอัตราส่วน 1 : 1 หรือ2 : 1 ตัว เพื่อให้น้ำเชื้อของปลาตัวผู้มีปริมาณเพียงพอกับจำนวนไข่ของปลาตัวเมีย รีดไข่จากแม่ปลาลงในกะละมังที่มีน้ำสะอาด แล้วรีดน้ำเชื้อจากปลาตัวผู้ 1-2 ตัวลงผสมพร้อม ๆ กันขั้นตอนการรีดต้องทำอย่างรวดเร็วและนุ่มนวล เพราะปลาอาจเกิดบอบช้ำหรือถึงตายได้ถ้าปลาอยู่ในมือนาน จากนั้นคลุกเคล้าไข่กับน้ำเชื้อให้เข้ากัน เพื่อให้น้ำเชื้อของปลาตัวผู้ไปผสมกับไข่ของปลาตัวเมียได้อย่างทั่วถึง แล้วล้างไข่ด้วยน้ำสะอาด1-2 ครั้ง วิธีนี้จะช่วยให้อัตราการฟักเป็นตัวของไข่ปลามีมากกว่าการปล่อยให้ปลาผสมพันธุ์กันเองตามวิธีธรรมชาติ เมื่อไข่ถูกน้ำจะดูดซึมน้ำเข้าภายในเซลล์ (Cell) และมีสารเหนียว ๆ ทำให้ไข่ติดกับกะละมัง ถ้าแม่ปลา 1 ตัวที่มีปริมาณไข่มาก สามารถรีดไข่ได้ 2-3 กะละมัง (กะละมังขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 12 นิ้ว) ไข่ที่ได้รับการผสมน้ำเชื้อจะมีลักษณะใสวาว ๆ สีเหลือง ส่วนไข่ที่ไม่ได้รับการผสม มีสีขาวขุ่น   นำกะลังมังที่มีไข่ปลาติดอยู่ ไปใส่ในบ่อฟักที่มีระดับน้ำลึกประมาณ 30 cm โดยวางกะละมังให้จมน้ำ ให้ออกซิเจนเบา ๆ เป็นจุด ๆ ตลอดเวลา อุณหภูมิของน้ำภายในอ่างฟักไข่อยู่ในช่วง 27 - 28  c การควบคุมอุณหภูมิน้ำในช่วงที่ไข่ฟักตัวเป็นสิ่งสำคัญมาก เนื่องจากในช่วงที่ไข่ปลากำลังฟักตัวจะมีภูมิต้านทานน้อยมาก ถ้าหากอุณหภูมิของน้ำเกิดการเปลี่ยนแปลงมากอาจทำให้ไข่ปลาเสียได้ ในช่วงฤดูหนาวที่อุณหภูมิลดลงมากอาจใช้ฮีทเตอร์ เพื่อช่วยในการควบคุมอุณหภูมิน้ำ


 7.การเจริญเติบโตของปลาทอง




ถ้าปลามีอาหารกินอุดมสมบูรณ์ อัตราการเจริญเติบโตก็จะเป็นไปตามปกติ และปลาก็จะเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในระยะแรกขณะที่ปลายังเล็ก อาหารที่ปลากินเข้าไปส่วนหนึ่งจะเปลี่ยนเป็นพลังงานที่ใช้ในการเคลื่อนไหว ใช้ในการซ่อมแซมเนื้อเยื่อที่สึกหรอแต่ส่วนใหญ่จะใช้ในการเจริญเติบโตเสริมสร้างเนื้อเยื่อของปลา จนกระทั่งปลาเจริญเติบโตเกือบเต็มวัย อาหารส่วนใหญ่จึงเริ่มใช้ในการเสริมสร้างอวัยวะเพศ เพื่อให้ปลาสามารถสืบพันธุ์ได้ต่อไป ถึงแม้ว่าปลาโตเต็มวัยและพร้อมที่จะสืบพันธุ์ได้แล้ว การเจริญเติบโตก็ยังมีอยู่แต่อยู่ในอัตราที่ต่ำกว่าที่เป็นมาดังนั้น การเจริญเติบโตของปลาจึงแตกต่างไปจากสัตว์ที่มีกระดูกสันหลัง เช่น นก หรือสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
          นักวิทยาศาสตร์สามารถทำนายอายุของปลา และหาอัตราการเจริญเติบโตได้โดยใช้วิธีการต่างๆ หลายวิธีด้วยกัน เช่น ทำการวิเคราะห์วงปีบนเกล็ดหรือส่วนกระดูกอื่นๆ เช่น ชิ้นกระดูกแก้ม(opercular bones) กระดูกในกล่องหู (otoliths) ข้อกระดูกสันหลัง เป็นต้น ถ้าหากไม่ปรากฏวงปีบนส่วนแข็งของปลา นักวิทยาศาสตร์อาจใช้การวิเคราะห์องค์ประกอบของความยาวของปลา โดยทำการสุ่มตัวอย่างวัดปลาในประชากรเดียวกันตลอดปี เพื่อตรวจดูการเปลี่ยนแปลงในองค์ประกอบของความยาว นอกจากนี้ เรายังสามารถประเมินอัตราการเจริญเติบโตของปลา โดยทำการติดเครื่องหมายปลาแล้วเลี้ยงไว้ในบ่อหรือกระชัง เพื่อตรวจดูความเจริญเติบโตเป็นระยะๆ
          ในการประเมินอัตราการเจริญเติบโตของปลาทูในอ่าวไทย โดยหน่วยงานอนุรักษ์ปลาผิวน้ำสถานวิจัยประมงทะเล กรมประมง ได้พบว่าปลาทูในอ่าวไทยมีการเจริญเติบโตสูงมากในระยะเวลาเพียง ๗ เดือนหลังจากที่ไข่ได้ฟักตัวออกมาเป็นลูกปลาแล้ว โดยในปีแรกปลาก็อาจจะมีความยาวถึง ๑๕ เซนติเมตร และก็สามารถทำการสืบพันธุ์ได้







แหล่งอ้างอิง